โฆษกศาลยุติธรรม ยืนยัน การออก ‘หมายจับคดีใบสั่ง’ จะพิจารณาเป็นคดีไป

โฆษกศาลยุติธรรม ยืนยัน การออก ‘หมายจับคดีใบสั่ง’ จะพิจารณาเป็นคดีไป

โฆษกศาลยุติธรรม ได้ออกมายืนยันถึงการออก หมายจับคดีใบสั่ง นั้น จะเป็นไปตามการส่งเรื่องของตำรวจ และศาลจะพิจารณาไปตามความจำเป็นของแต่ละคดี (15 ก.ค. 2565) โฆษกศาลยุติธรรม ได้ออกมากล่าวถึงกรณีการออก หมายจับคดีใบสั่ง จะมีการดำเนินการตามการส่งเรื่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศาล โดยมีฐานตามความจำเป็นของแต่ละคดี รวมถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น

นายสรวิศ ลิมปรังษี โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวถึงกรณีที่ทางตำรวจมีแนวคิดที่จะใช้มาตรการขอศาลออกหมายจับผู้ที่ถูกใบสั่งจราจรจำนวนมากแต่ไม่ยอมชำระค่าปรับตามกฎหมาย 

ว่า ตาม พ.ร.บ.จราจร ฉบับที่ 13 ไม่ได้พูดเรื่องนี้ไว้ (การออกหมายจับ) ฉะนั้นการออกหมายจับเป็นไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.66 วรรคสองกำหนด โดยวรรคหนึ่งบอกว่าถ้าเป็นความผิดโทษจำคุกเกิน 3 ปี เป็นเหตุให้ออกหมายจับได้ ถ้าไม่ถึง 3 ปีแต่มีพฤติการณ์หลบหนีก็เป็นอีกเหตุหนึ่งที่สามารถออกหมายจับได้ ส่วนวรรคสอง บอกว่ามีหมายเรียกแล้วไม่มาถือว่ามีพฤติการณ์หลบหนี ที่ตำรวจจะใช้น่าจะเป็นวรรคสองมีการออกหมายเรียกแล้วไม่มาถือว่ามีพฤติการณ์หลบหนี

โฆษกศาลยุติธรรมบอกว่า เรื่องการพิจารณาออกหมายจับของศาลถ้าสังเกตวิธีการที่ศาลใช้ อย่างคดีนักการเมืองบางคนที่ตกเป็นผู้ต้องหาก็มีการออกหมายเรียกแล้วไม่มา แต่ศาลก็ไม่ได้ใช้วิธีการออกหมายจับทุกครั้ง ฉะนั้นไม่ว่าคดีใหญ่คดีเล็กก็ต้องดูพฤติการณ์แต่ละเรื่องแต่ละคดีไป ศาลก็ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ดูข้อมูลที่ตำรวจอธิบายมาว่าเคยทำผิดมาแล้วกี่ครั้ง เหมือนกรณีการอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวแต่ละคดี

นายสรวิศกล่าวว่า การออกหมายเรียกหมายจับผู้เกี่ยวข้อง มีทั้งผู้ต้องหากับผู้ที่บังคับใช้กฎหมาย ทางผู้ต้องหาอาจมองว่าเป็นความผิดเล็กน้อยที่ส่วนใหญ่อาจมีเพียงโทษปรับไม่น่าเป็นเหตุถึงขนาดต้องมีการออกหมายจับที่ทำให้เกิดความเดือดร้อนและกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ แต่ในขณะเดียวกันทางฝั่งเจ้าหน้าที่ที่บังคับใช้กฎหมายก็มองว่าเมื่อบังคับใช้กฎหมายแล้วไม่ได้รับความเคารพ มีพฤติการณ์ที่ฝ่าฝืนกฎหมายอยู่เป็นนิจ เป็นประจำๆ กฎหมายก็ไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ และอาจเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น หากไม่มีมาตรการที่เข้มงวด จะยิ่งทำให้คนที่กระทำผิดไม่ตระหนักและให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามกฎหมายอันจะนำมาซึ่งปัญหาการเกิดอุบัติเหตุในท้องถนน ที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของคนที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่อีกมากมาย การที่มีการออก พ.ร.บ.จราจรฯ ฉบับที่ 13 ก็เพื่อทำให้มีการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพขึ้น

โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวว่า “ส่วนศาลทำหน้าที่อยู่ตรงกลางระหว่างสองฝ่าย ศาลก็ต้องชั่งน้ำหนักพฤติการณ์เป็นเรื่องๆ ไป ซึ่งเป็นการทำหน้าที่ตามปกติที่ต้องพิจารณาเหตุผลและความจำเป็นในทุกๆ เรื่องอยู่แล้ว”

‘หมอยง’ ตอบ ทำไมต้องฉีดวัคซีนโควิด แม้ฉีดแล้วก็ยังติดโควิดได้

หมอยง โพสต์ข้อความเฟซบุ๊ก ทำไมต้องฉีดวัคซีนโควิด แม้ฉีดแล้วก็ยังติดโควิดได้ ชี้เหมือนเตรียมทหาร ให้รู้จักข้าศึก ป้องกันป่วยหนัก

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวช ศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่าด้วยเรื่องของการฉีดวัคซีนโควิด ที่แม้ว่าจะฉีดวัคซีนโควิดแล้วก็ยังติดได้

แจงว่าเพราะเหตุใดถึงควรฉีดวัคซีนโควิดแม้ฉีดไปแล้วก็ยังติดโควิดได้อยู่ดี เปรียบเทียบเหมือนค่ายทหารให้ร่างกายรู้จักตัวไวรัส โดยข้อความระบุว่า “เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าโรคโควิด 19 เป็นแล้วเป็นอีกได้ และเช่นเดียวกัน ฉีดวัคซีนแล้วก็สามารถติดเชื้อได้

การฉีดวัคซีน หรือการติดเชื้อ จะช่วยป้องกันลดความรุนแรงของโรคได้

การฉีดวัคซีน ส่วนใหญ่จะกระตุ้นภูมิต้านทานจำเพาะ ต่อ B และ T เซลล์

ภูมิต้านทาน ต่อ B เซลล์ จะเป็นการสร้าง แอนติบอดี เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อมา

จับกับเซลล์ และป้องกันการติดเชื้อ ภูมิที่สร้างขึ้นในระยะแรกจะมีระดับสูง เพียงพอต่อการป้องกันการติดเชื้อ และจะลดลงตามระยะเวลา ในขณะเดียวกัน ไวรัสก็มีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม ทำให้ต้องใชระดับภูมิต้านทานที่สูงขึ้นอีก จึงไม่สามารถที่จะป้องกันการติดเชื้อได้

แต่เมื่อติดเชื้อแล้ว การหายของโรค รวมทั้งลดความรุนแรง ระบบ T เซลล์ จะเข้ามาช่วยจัดการ ให้หายได้เร็วขึ้น และระบบนี้ยังมีหน่วยความจำ ให้รู้จักหน้าตาของไวรัส เข้ามาเสริม สนับสนุนให้ B เซลล์ สร้างภูมิต้านทานได้เร็วขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อจริง

การฉีดวัคซีนจึงเปรียบเสมือน การฝึกทหารเกณฑ์ ให้รู้จักข้าศึกหรือตัวไวรัส เมื่อเวลาผ่านไปหรือยามสงบ ก็ปลดเป็นกองหนุน และเมื่อมีข้าศึกหรือไวรัสเข้ามา ทหารที่ผ่านการฝึกแล้ว เคยเห็นหน้ารู้จักข้าศึกหรือไวรัส พร้อมที่จะต่อสู้ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องไปฝึกยุทธวิธีใหม่ และถ้าฝึกมานานแล้ว จำเป็นจะต้องให้วัคซีนกระตุ้นอีก เพื่อ เอาทหารกองหนุนมาฝึกอีกครั้งหนึ่ง ให้ชำนาญยิ่งขึ้น และยามปกติก็จะปลดประจำการ และจำเป็นจะต้องมีการฝึกเป็นครั้งคราว หรือกระตุ้นด้วยวัคซีนเป็นครั้งคราว เผื่อเวลามีข้าศึกมา จะได้มีความชำนาญพร้อมที่จะต่อสู้ได้ทันที ทำให้อาการของโรคลดลง”

Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่า